วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

นักเขียน

นักเขียน
นักเขียน คือผู้ที่สร้างงานเขียน อย่างไรก็ตามคำนี้มักใช้เฉพาะกับผู้ที่เขียนงานสร้างสรรค์หรือเป็นอาชีพ หรือผู้ที่ได้สร้างงานเขียนในลักษณะอื่น ๆ นักเขียนที่มีความชำนาญจะแสดงความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อที่จะนำเสนอแนวคิดและภาพพจน์ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบันเทิงคดีหรือสารคดี

นักเขียนอาจสร้างผลงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทกวี ร้อยกรอง ร้อยแก้ว เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร สารคดี นักเขียนที่ทำงานเฉพาะมักได้รับการเรียกแตกต่างกัน เช่น กวี นักเขียนเรื่องสั้น นักเขียนนวนิยาย นักอ่านเพิ่มเติม

โรคดักแด้

โรคดักแด้ 
   โรคดักแด้ หรือ Epidermolysis Bullosa (EB) อยู่ในกลุ่มโรคประเภทโรคผิวหนัง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติที่ไม่ค่อยพบนัก มีสาเหตุจากการกลายพันธุ์จากยีนเคราติน มีอาการผิวแห้ง บอบบางอย่างรุนแรงและมีแผลพุพอง โรคนี้ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะในสหราชอาณาจักรทางช่อง 4 รายการ The Boy Whose Skin Fell Off, chronicling the life and death of English sufferer Jonny Kennedy.


          ลองจินตนาการถึงผู้ที่เจ็บปวดจากบาดแผลคล้ายแผลไฟไหม้ไปทั่วร่าง โดยที่บาดแผลเหล่านี้จะไม่หายไป สำหรับเด็ก การขี่จักรยาน เล่นเสก็ต หรือเล่นกีฬาอื่นๆเป็นสิ่งยากลำบากเพราะกิจกรรมปกติจะทำให้เกิดความเจ็บปวดเรื้อรัง แผลอาจปกคลุมถึง75%ของร่างกาย แผลในปากและหลอดอาหารทำให้ผู้ป่วยกินได้เพียงน้ำและอาหารอ่อนๆ เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ถูกเรียกว่า “เด็กผีเสื้อ” เพราะผิวของพวกเขาเปราะบางเหมือนปีกผีเสื้อนั่นเองอ่านเพิ่มเติม

โรคเบาหวาน

          โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหากับ ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง ท่านผู้อ่านสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ โดยการปรับ อาหาร การออกกำลังกาย และยาให้เหมาะสม ท่านผู้อ่านสามารถนำข้อเสนอแนะจากบทความนี้ไปปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านอยู่ ท่านต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษา บทความนี้เชื่อว่าจะช่วยท่านควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น
โรคเบาหวานคืออะไร
อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน เซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาทอ่านเพิ่มเติม

โรคฮีโมฟีเลีย เลือดออกง่าย หยุดยาก 

โรคฮีโมฟีเลีย เลือดออกง่าย หยุดยาก

          ในคนปกติเมื่อเกิดอุบัติเหตุแขนขาถลอก หรือมีดบาดเพียงเล็กน้อยยังรู้สึกเจ็บปวด ยิ่งหากมีเลือดไหลออกมาด้วยก็ยิ่งเพิ่มความเจ็บปวดขึ้นไปอีก แต่รู้หรือไม่ว่า ยังมีผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องทรมานกับอาการที่เรียกว่า โรคเลือดออกง่ายหยุดยาก หรือ โรคฮีโมฟีเลีย ( Hemoplilia ) ซึ่งหากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอุบัติเหตุ หรือมีบาดแผลเกิดขึ้น พวกเขาไม่เพียงแต่จะเจ็บปวดมากกว่าคนปกติ แต่ทุกวินาทีที่มีเลือดไหลสำหรับผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียแล้ว นั่นอาจหมายถึง ความเป็นความตายของชีวิตเลยทีเดียว
   
          ข้อมูลจาก ศ.พญ.อำไพวรรณ จวนสัมฤทธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยโลหิตวิทยาและโรคมะเร็งในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุว่า โรคฮีโมฟีเลีย เป็นโรคที่เป็นแต่กำเนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากแม่สู่ลูกชาย แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่า ร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียไม่เคยมีประวัติโรคนี้ในครอบครัวมาก่อน อ่านเพิ่มเติม

  โรคตาบอดสี

  โรคตาบอดสี
      ตาบอดสี หรือที่เรียกว่า colour blindness เป็นอาการที่ตาของผู้ป่วยแปรผลแปรภาพสีผิดไป จากผู้อื่นที่เป็นตาปกติ ตาเป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม หากเกิดความ ผิดปกติไม่ว่า จะเป็นเรื่องใดที่มีผลกระทบต่อการมองเห็น บุคคลนั้นๆ ย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง ภาวะตาบอดสีเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมมากพอสมควร

           ปกติแล้วตาคนเราจะมีเซลรับแสงอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นเซลรับแสงที่รับรู้ถึงความมืด หรือ สว่าง ไม่สามารถแยกสีออกได้และจะมีความไวต่อการกระตุ้นแม้ในที่ที่มีแสงเพียงเล็กน้อย เช่น เวลากลางคืน เซลกลุ่มที่สองเป็นเซลล์ทำหน้าที่มองเห็นสีต่าง ๆ โดยจะแยกได้เป็นเซล อีก 3 ชนิด ตามระดับคลื่นแสง หรือสี ที่กระตุ้น คือ เซลล์รับแสงสีแดง เซลล์รับแสงสีน้ำเงิน และเซอ่านเพิ่มเติม

โรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช

โรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช

     ถือเป็นโรคและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการประกอบอาชีพอย่างหนึ่ง เกิดจากการได้สัมผัสสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชเข้า สู่ร่างกาย ทั้งทางปาก ผิวหนัง และการหายใจ
ผลกระทบด้านสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ผลกระทบที่เป็นพิษเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการในทันทีหลังจากสัมผัสสารเคมี เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า เป็นต้น
ผลกระทบที่เป็นพิษเรื้อรัง เกิดจากพิษสะสมที่ก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาอื่นๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังต่างๆ การเป็นหมัน การพิการของทารกแรกเกิด หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง : วิกฤตในระบบอาหารไทยการบริโภคผักและผลผลิตที่มีสารเคมีตกค้าง ดังรายงานการตรวจเลือดในเกษตรกรและผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเกษตรกรและแม่บ้านมีสารเคมีตกค้างในระดับไม่ปลอดภัยและเสี่ยงรวมร้อยละ ๗๕ ส่วนในกลุ่มผู้บริโภคที่รวมถึงนักเรียน บุคลากรในมหาวิทยาลัย ข้าราชการ นั้นมีสูงถึงร้อยละ ๘๙.๒๒ ซึ่งสาเหตุหลักของความแตกต่างนี้อาจเป็นเพราะว่าเกษตรกรมีตัวเลือกในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยมากกว่าผู้บริโภคทั่วไป
การป้องกันเมื่อต้องทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ก่อนที่จะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ควรอ่านฉลากที่ติดมากับภาชนะบรรจุให้เข้าใจเกี่ยวกับวิธีใช้ การป้องกันอันตรายและวิธีแก้พิษ
ผสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้ถูกต้องตามอัตราส่วนที่ระบุในฉลากและเตรียมน้ำสะอาดไว้เพียงพอสำหรับการชำระล้างในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น
ขณะผสมสารเคมี ไม่ควรใช้มือเปล่ากวน ควรใช้ไม้หรือวัสดุอื่นแทนและควรสวมถุงมือทุกครั้งในขณะตวงหรือรินสาร
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกชนิดควรบรรจุในภาชนะที่บรรจุมาแต่เดิม ถ้าจะถ่ายใส่ภาชนะใหม่ ต้องปิดป้ายบอกให้ชัดเจนว่าเป็นสารเคมีอะไร ป้องกันการหยิบผิดและต้องแน่ใจว่าปิดฝาสนิทไม่มีการรั่วซึมออกนอกภาชนะภายนอก
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ผสมให้พอดีหมดในครั้งเดียว หากใช้ไม่หมดควรจัดเก็บให้มิดชิดห่างไกลจากเด็ก สัตว์เลี้ยงและไม่ปนเปื้อนแหล่งน้ำหรืออาหาร
ตรวจเช็คอุปกรณ์การฉีดพ่นให้อยู่ในสภาพที่ดีไม่ชำรุดก่อนจะนำไปใช้ห้ามใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่มีการรั่วซึมของสารได้ทำการฉีดพ่น ในกรณีที่หัวฉีดเกิดการอุดตันห้ามใช้ปากเป่าหัวฉีดพ่นนั้นแต่ให้ถอดหัวฉีดออกมาทำความสะอาดโดยใช้การแช่ในน้ำ หรือใช้ไม้เขี่ยแล้วล้างน้ำ
สวมเสื้อผ้ามิดชิด เช่น กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น หน้ากากที่มีไส้กรองอากาศ ถุงมือ หมวก กระบังครอบหน้าหรือแว่นตา เป็นต้น
ห้ามกินอาหาร น้ำ หรือสูบบุหรี่ในขณะทำการผสมสารเคมี
ในกรณีที่เกษตรกรมีการสัมผัสสารเคมีทางผิวหนังให้ทำการชำระล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ อย่างน้อย ๑๕ นาที รีบอาบน้ำฟอกสบู่ เปลี่ยนเสื้อผ้า
ไม่ควรฉีดพ่นในขณะที่ลมแรง หรือฝนตก และควรยืนอยู่เหนือลมเสมอ

โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ  

โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ

   โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ (Occupational asthma)

เกิดจากการทำงานสัมผัสกับสารก่อโรคในที่ทำงาน ซึ่งอาจเป็นการสัมผัสสารกลุ่มน้ำหนักโมเลกุลต่ำ เช่น สารยึดติด สารเคลือบต่าง ๆ สารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตโพลิเมอร์ ผลิตอีพอกซีย์ และไอที่เกิดจาก การชุบเชื่อมโลหะต่าง ๆ การสัมผัสสารก่อโรค  ชนิดน้ำหนักโมเลกุลสูง  เป็นสารที่เกิดจากผลผลิตทางชีวภาพ ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย แมลง พืช ต่าง ๆ เช่น เครื่องเทศ กาแฟ ละหุ่ง  ถั่วเหลือง เกสรดอกไม้ แป้ง เป็นต้น

ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง
ได้แก่ผู้ที่ทำงานสัมผัสกับสารก่อโรค อุตสาหกรรมการผลิตสานยึดติด  อีพอกซีย์ งานเคลือบ ฉาบผิว วัสดุด้วยแลคเกอร์ หรือโพลียูรีเธน งานเชื่อม บัดกรีโลหะ งานทา พ่นสีรถยนต์ อาชีพที่เสี่ยงจากการสัมผัสสาร ก่อโรคชนิดน้ำหนักโมเลกุลสูงได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตอาหาร อุตสาหกรรมผลิตกาแฟ อุตสาหกรรมการผลิตแป้ง ขนมปัง การทำเฟอร์นิเจอร์

อันตรายต่อระบบอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย
ลักษณะสำคัญของการเกิดโรคคือ การเกิดการอักเสบของหลอดลม และมีภาวการณ์หดเกร็งของหลอดลม เนื่องมากจากการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้จากสภาพแวดล้อมการทำงาน

อาการแบบเฉียบพลัน ( immediate asthma) มีอาการหอบทันทีที่สัมผัสสารก่อโรค  เกิดหลอดลม หดเกร็ง อย่างรุนแรงมากที่สุดในระยะ 10- 30 นาที แล้วค่อย ๆ ดีขึ้น

อาการแบบล่า ( late asthma) เกิดหลอดลมอุดกั้นหลังสัมผัสสารก่อโรค ในระยะ 3- 8 ขั่วโมง และมีหลอดลมเกร็งอย่างรุนแรงในระยะเวลานาน

กลุ่มอาการทางหายใจมีปฏิกิริยาผิดปกติ ( reactive airway dysfunction syndrome ; RADS) มีอาการหอบเรื้อรังหลังกายใจรับ ไอ ควัน ของสารก่อโรคที่มีฤทธิ์ระคายเคืองอย่างรุนแรงเข้าไป เช่น ควันไฟ กรดไนตริก ฯลฯ

การวินิจฉัยเพื่อการรายงาน
1. ประวัติอาชีพหรือลักษณะงานที่เสี่ยงต่อการสัมผัสสารก่อโรค ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป
2. มีอาการหอบเกิดขึ้นหรืออาการหลังทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีสารก่อโรค
3. มีอาการเข้าได้กับโรคหืดที่มีสาเหตุมาจากการสัมผัสสารก่อโรค
4.มีการตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการที่เข้าได้กับโรคหืด

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1. การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่องสไปโรมิเตอร์
2. การตรวจอัตราการไหลของการหายใจออกสูงสุด (peak expiratory flow rate ; PEFR) เป็น อนุกรมทุก 2 ชั่วโมงติดต่อกัน 2 สัปดาห์ พบการเปลี่ยนแปลงของ PEFR มากกว่า ร้อยละ15วัน  ในวัน ทำงาน  และเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า 15 ในวันหยุด


วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โรคปอดฝุ่นฝ้ายหรือโรคบิสสิโนสิส (Byssinosis)

          โรคปอดฝุ่นฝ้าย บิสสิโนสิส หนึ่งในอันตรายของคนที่ทำงานหรือต้องสัมผัสกับสิ่งทอต่าง ๆ เป็นเวลานาน ไม่ใช่แค่หนุ่มสาวโรงงานเท่านั้น แม้แต่ช่างตัดเสื้อก็ยังเสี่ยง

          การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากจะต้องระมัดระวังความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้เครื่องมือต่าง ๆ แล้ว การที่ต้องสัมผัสและสูดรับเอาฝุ่นละอองต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายทุกวัน ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสิ่งทอต่าง ๆ อาจป่วยด้วยโรคบิสสิโนสิส หรือ โรคปอดฝุ่นฝ้าย ได้เช่นกัน กระปุกดอทคอม ชวนมาทำความรู้จักกับโรคนี้ พร้อมวิธีป้องกัน

อาการของโรคปอดฝุ่นฝ้าย ร้ายแรงหรือไม่?

          ผู้ที่สูดเอาใยสิ่งทอเข้าสู่ร่างกายจนสะสมนาน ๆ ส่วนใหญ่คือเกิน 2 ปีขึ้นไป จะมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหอบ มักเกิดในชั่วโมงต้น ๆ ของการทำงาน โดยเฉพาะในตอนเช้าวันแรกของการทำงานหลังจากวันหยุดสุดสัปดาห์ แล้วอาการจะทุเลาลงในตอนเย็น แต่วันถัดมา อาการจะค่อย ๆ ลดลงจนดีขึ้นเกือบเป็นปกติเมื่อได้หยุดพักในวันหยุดงาน แต่หากกลับมาทำงานใหม่ก็จะมีอาการนี้ตามมาอีก การตรวจสมรรถภาพปอดในระยะนี้อาจไม่พบสิ่งผิดปกติ

          ทั้งนี้อาจมีบางรายที่มีอาการเรื้อรังเกิดขึ้นทุกวัน และมีอาการของโรคดังกล่าวตลอดไปทุกวันร่วมกับการลดลงของสมรรถภาพปอดอย่างถาวร

 4 ระยะของโรคปอดฝุ่นฝ้าย บิสสิโนสิส

           ระยะที่ 1 มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือไอเป็นครั้งคราวในวันจันทร์ หรือวันแรกที่กลับเข้าไปทำงาน

           ระยะที่ 2 มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือหายใจเร็วกว่าปกติทุก ๆ วันจันทร์ หรือวันแรกของสัปดาห์ที่เริ่มกลับเข้าทำงาน

           ระยะที่ 3 มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือหายใจเร็วกว่าปกติทุกวันจันทร์ หรือวันแรกที่กลับเข้าทำงาน รวมทั้งยังมีอาการนี้ต่อเนื่องไปถึงวันอื่น ๆ ของสัปดาห์ด้วย

           ระยะที่ 4 มีอาการเหมือนระยะที่ 3 ร่วมกับภาวะหายใจล้มเหลว และการลดลงของสมรรถภาพปอดอย่างถาวร

 แล้วทำไมฝุ่นฝ้ายจึงทำให้เกิดโรคได้ ?

          ในปัจจุบันนี้กลไกการเกิดโรคบิสสิโนสิสยังไม่ชัดเจน แต่ก็มีข้อมูลสนับสนุนอยู่ 3 ข้อ คือ

           ในฝุ่นฝ้ายมีสารโมเลกุลขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่ไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งฮิสตามิน จึงทำให้เกิดโรคดังกล่าว

           การสัมผัสฝุ่นฝ้ายเป็นเวลานาน ๆ ทำให้ระบบทางเดินหายใจส่วนบนและหลอดลมเกิดการระคายเคือง นาน ๆ เข้าจึงเกิดภาวะโรคทางเดินหายใจอุดกั้นแบบเรื้อรัง

           อาจเป็นเพราะปฏิกิริยาของร่างกายต่อสาร Endotoxin ที่พบในเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ปนเปื้อนมากับฝุ่นฝ้าย ทำให้เกิดโรคบิสสิโนสิสขึ้น
รักษาอย่างไร หากป่วยโรคปอดฝุ่นฝ้าย

          เนื่องจากเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการสูดละอองฝุ่นฝ้ายเข้าไป การรักษาที่ดีที่สุดก็คือต้องไม่สูดรับฝุ่นละอองเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายอีก โดยจำเป็นต้องย้ายไปทำงานที่แผนกอื่นซึ่งไม่มีฝุ่นฝ้าย แล้วใช้การรักษาพยาบาลโดยใช้ยาขยายหลอดลม เพื่อลดการเกร็งและการอุดกั้นของหลอดลม รวมทั้งยาลดการอักเสบ

          แต่หากสูดหายใจเอาฝุ่นฝ้ายเข้าร่างกายไปนานแล้วจนมีอาการเรื้อรัง จะต้องรักษาเหมือนกับการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคถุงลมโป่งพอง รวมทั้งจำเป็นต้องเปลี่ยนงานใหม่ เพื่อให้สุขภาพดีขึ้น


โรคฝุ่นหินหรือโรคซิลิโคสิส (Silicosis)

โรคฝุ่นหินหรือโรคซิลิโคสิส (Silicosis)
สาเหตุ

โรคปอดฝุ่นหิน หรือ โรคซิลิโคสิส (silicosis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจาก การสูดหายใจเอาฝุ่นทรายหรือฝุ่นหินต่างๆ ที่มีสาร ซิลิคอนไดออกไซด์
หรือเรียกว่าผลึกซิลิก้าเข้าไปในปอด ซึ่งส่วนมากจะพบในหินทราย โดยเฉพาะฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05-5 ไมครอน ซึ่งสามารถเข้าไป
อยู่ในถุงลมปอดได้ โดยจะถูกเม็ดเลือดขาวในปอดจับกิน และมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื้อปอด ซึ่งต่อมาจะก่อให้เกิดพังผืดที่เนื้อปอด เมื่อยัง
คงหายใจเอาฝุ่นที่มีซิลิกอนไดออกไซด์เข้าไปในปอดอย่างต่อเนื่องมากขึ้น และการป้องกันควบคุมไม่เหมาะสม ในที่สุดจะทำให้เนื้อปอดเสีย
เป็นวงกว้าง จนทำให้ปอดไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
ลักษณะของงานที่เกิดฝุ่นซิลิก้า

เช่น การโม่  บด  ย่อยหิน/แร่ ต่างๆ งานก่อสร้างหรืองานที่เกี่ยวข้องกับ หิน ทรายซีเมนต์ งานทำแก้ว
เซรามิค อิฐ ภาชนะดินเผา กระเบื้อง  การหล่อโลหะ การยิงทราย การเจียรนัย เพชร พลอย ฯลฯ




อาการของโรค อาการของโรคเกิดได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังนี้
    - ปริมาณฝุ่นหินหรือทรายในบรรยากาศขณะทำงาน มีมาก หรือน้อย
    - เปอร์เซ็นต์ของสารซิลิคอนไดออกไซด์ ถ้ามีปริมาณสูงก็ก่อให้เกิดโรค ได้เร็วขึ้น
    - ระยะเวลาที่หายใจเอาฝุ่นหินหรือทรายเข้าสู่ร่างกาย ถ้าทำงานกับฝุ่นหินหรือทรายเป็นเวลานานก็จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เร็วกว่า
      ผู้ที่สัมผัสกับสารในระยะเวลาสั้น

อาการพิษแบบเฉียบพลัน  มักพบในผู้ที่สัมผัสฝุ่นซิลิคอนไดออกไซด์ในปริมาณมากโดยไม่มีการป้องกัน โดยมีอาการหอบ เหนื่อย
หายใจลำบาก เขียวคล้ำ เป็นไข้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

อาการพิษแบบเรื้อรัง คือสัมผัสฝุ่นซิลิคอนไดออกไซด์เป็นเวลานาน ในปริมาณไม่มากนัก จะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง
มีอาการไอแห้ง ๆ มีอาการของหลอดลมอักเสบ บางครั้งมีอาการไอเป็นเลือด ร่างกายทั่วไปไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากจนเห็นได้ชัด
นอกจากในรายที่เป็นวัณโรคปอดแทรกซ้อนอยู่ด้วย ในรายเช่นนี้จะทำให้มีอาการเป็นไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หอบเหนื่อย น้ำหนัก
ตัวลด อาจตรวจพบเชื้อวัณโรคในเสมหะ สำหรับโรคมะเร็งปอดไม่มีรายงานชัดเจนเกี่ยวกับอัตราการพบมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นในผู้ป่วย
ซิลิโคสิส


โรคนี้เกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลันภายใน 5 ปี หรือแบบเรื้อรังค่อยเป็นค่อยไป 20-40 ปี มักเป็นวัณโรค
ปอดได้ง่าย มีอาการรุนแรง และรักษาหายยากกว่าคนทั่วไป ตรวจสมรรถภาพ ปอดมีความจุปอดลดลง
ภาพถ่ายรังสีปอดผิดปกติพบจุดทึบเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป
การรักษา ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่รักษาตามอาการและลดอาการ แทรกซ้อน

การรักษา

1. ให้คนงานสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นโดยเฉพาะ
2. ควบคุมแหล่งที่ก่อให้เกิดฝุ่นไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจายออกสู่บริเวณที่คนทำงานอยู่ เช่นการติดตั้งระบบระบายอากาศเฉพาะที่  การใช้สเปรย์น้ำ
    การสร้างระบบปิดคลุม
3. แยกงานที่ทำให้เกิดฝุ่นออกจากงานอื่นๆ เพื่อป้องกันคนงานที่ไม่เกี่ยวข้อง ต้องหายใจเอาฝุ่นสารเข้าไป
4. การควบคุมที่ผ่านทาง ได้แก่ การลดฝุ่นบริเวณทั่วไปภายในโรงงาน ปรังปรุงถนน ฉีดพรมน้ำถนน
5. ให้ความรู้ การอบรมวิธีการทำงานที่ปลอดภัย การเฝ้าระวังด้านสุขภาพ การใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
6. ตรวจร่างกายประจำปี โดยการทดสอบสมรรถภาพของปอดและการเอกซเรย์ปอด


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา