วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ  

โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ

   โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ (Occupational asthma)

เกิดจากการทำงานสัมผัสกับสารก่อโรคในที่ทำงาน ซึ่งอาจเป็นการสัมผัสสารกลุ่มน้ำหนักโมเลกุลต่ำ เช่น สารยึดติด สารเคลือบต่าง ๆ สารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตโพลิเมอร์ ผลิตอีพอกซีย์ และไอที่เกิดจาก การชุบเชื่อมโลหะต่าง ๆ การสัมผัสสารก่อโรค  ชนิดน้ำหนักโมเลกุลสูง  เป็นสารที่เกิดจากผลผลิตทางชีวภาพ ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย แมลง พืช ต่าง ๆ เช่น เครื่องเทศ กาแฟ ละหุ่ง  ถั่วเหลือง เกสรดอกไม้ แป้ง เป็นต้น

ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง
ได้แก่ผู้ที่ทำงานสัมผัสกับสารก่อโรค อุตสาหกรรมการผลิตสานยึดติด  อีพอกซีย์ งานเคลือบ ฉาบผิว วัสดุด้วยแลคเกอร์ หรือโพลียูรีเธน งานเชื่อม บัดกรีโลหะ งานทา พ่นสีรถยนต์ อาชีพที่เสี่ยงจากการสัมผัสสาร ก่อโรคชนิดน้ำหนักโมเลกุลสูงได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตอาหาร อุตสาหกรรมผลิตกาแฟ อุตสาหกรรมการผลิตแป้ง ขนมปัง การทำเฟอร์นิเจอร์

อันตรายต่อระบบอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย
ลักษณะสำคัญของการเกิดโรคคือ การเกิดการอักเสบของหลอดลม และมีภาวการณ์หดเกร็งของหลอดลม เนื่องมากจากการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้จากสภาพแวดล้อมการทำงาน

อาการแบบเฉียบพลัน ( immediate asthma) มีอาการหอบทันทีที่สัมผัสสารก่อโรค  เกิดหลอดลม หดเกร็ง อย่างรุนแรงมากที่สุดในระยะ 10- 30 นาที แล้วค่อย ๆ ดีขึ้น

อาการแบบล่า ( late asthma) เกิดหลอดลมอุดกั้นหลังสัมผัสสารก่อโรค ในระยะ 3- 8 ขั่วโมง และมีหลอดลมเกร็งอย่างรุนแรงในระยะเวลานาน

กลุ่มอาการทางหายใจมีปฏิกิริยาผิดปกติ ( reactive airway dysfunction syndrome ; RADS) มีอาการหอบเรื้อรังหลังกายใจรับ ไอ ควัน ของสารก่อโรคที่มีฤทธิ์ระคายเคืองอย่างรุนแรงเข้าไป เช่น ควันไฟ กรดไนตริก ฯลฯ

การวินิจฉัยเพื่อการรายงาน
1. ประวัติอาชีพหรือลักษณะงานที่เสี่ยงต่อการสัมผัสสารก่อโรค ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป
2. มีอาการหอบเกิดขึ้นหรืออาการหลังทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีสารก่อโรค
3. มีอาการเข้าได้กับโรคหืดที่มีสาเหตุมาจากการสัมผัสสารก่อโรค
4.มีการตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการที่เข้าได้กับโรคหืด

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1. การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่องสไปโรมิเตอร์
2. การตรวจอัตราการไหลของการหายใจออกสูงสุด (peak expiratory flow rate ; PEFR) เป็น อนุกรมทุก 2 ชั่วโมงติดต่อกัน 2 สัปดาห์ พบการเปลี่ยนแปลงของ PEFR มากกว่า ร้อยละ15วัน  ในวัน ทำงาน  และเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า 15 ในวันหยุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น