วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โรคฝุ่นหินหรือโรคซิลิโคสิส (Silicosis)

โรคฝุ่นหินหรือโรคซิลิโคสิส (Silicosis)
สาเหตุ

โรคปอดฝุ่นหิน หรือ โรคซิลิโคสิส (silicosis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจาก การสูดหายใจเอาฝุ่นทรายหรือฝุ่นหินต่างๆ ที่มีสาร ซิลิคอนไดออกไซด์
หรือเรียกว่าผลึกซิลิก้าเข้าไปในปอด ซึ่งส่วนมากจะพบในหินทราย โดยเฉพาะฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05-5 ไมครอน ซึ่งสามารถเข้าไป
อยู่ในถุงลมปอดได้ โดยจะถูกเม็ดเลือดขาวในปอดจับกิน และมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื้อปอด ซึ่งต่อมาจะก่อให้เกิดพังผืดที่เนื้อปอด เมื่อยัง
คงหายใจเอาฝุ่นที่มีซิลิกอนไดออกไซด์เข้าไปในปอดอย่างต่อเนื่องมากขึ้น และการป้องกันควบคุมไม่เหมาะสม ในที่สุดจะทำให้เนื้อปอดเสีย
เป็นวงกว้าง จนทำให้ปอดไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
ลักษณะของงานที่เกิดฝุ่นซิลิก้า

เช่น การโม่  บด  ย่อยหิน/แร่ ต่างๆ งานก่อสร้างหรืองานที่เกี่ยวข้องกับ หิน ทรายซีเมนต์ งานทำแก้ว
เซรามิค อิฐ ภาชนะดินเผา กระเบื้อง  การหล่อโลหะ การยิงทราย การเจียรนัย เพชร พลอย ฯลฯ




อาการของโรค อาการของโรคเกิดได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังนี้
    - ปริมาณฝุ่นหินหรือทรายในบรรยากาศขณะทำงาน มีมาก หรือน้อย
    - เปอร์เซ็นต์ของสารซิลิคอนไดออกไซด์ ถ้ามีปริมาณสูงก็ก่อให้เกิดโรค ได้เร็วขึ้น
    - ระยะเวลาที่หายใจเอาฝุ่นหินหรือทรายเข้าสู่ร่างกาย ถ้าทำงานกับฝุ่นหินหรือทรายเป็นเวลานานก็จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เร็วกว่า
      ผู้ที่สัมผัสกับสารในระยะเวลาสั้น

อาการพิษแบบเฉียบพลัน  มักพบในผู้ที่สัมผัสฝุ่นซิลิคอนไดออกไซด์ในปริมาณมากโดยไม่มีการป้องกัน โดยมีอาการหอบ เหนื่อย
หายใจลำบาก เขียวคล้ำ เป็นไข้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

อาการพิษแบบเรื้อรัง คือสัมผัสฝุ่นซิลิคอนไดออกไซด์เป็นเวลานาน ในปริมาณไม่มากนัก จะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง
มีอาการไอแห้ง ๆ มีอาการของหลอดลมอักเสบ บางครั้งมีอาการไอเป็นเลือด ร่างกายทั่วไปไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากจนเห็นได้ชัด
นอกจากในรายที่เป็นวัณโรคปอดแทรกซ้อนอยู่ด้วย ในรายเช่นนี้จะทำให้มีอาการเป็นไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หอบเหนื่อย น้ำหนัก
ตัวลด อาจตรวจพบเชื้อวัณโรคในเสมหะ สำหรับโรคมะเร็งปอดไม่มีรายงานชัดเจนเกี่ยวกับอัตราการพบมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นในผู้ป่วย
ซิลิโคสิส


โรคนี้เกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลันภายใน 5 ปี หรือแบบเรื้อรังค่อยเป็นค่อยไป 20-40 ปี มักเป็นวัณโรค
ปอดได้ง่าย มีอาการรุนแรง และรักษาหายยากกว่าคนทั่วไป ตรวจสมรรถภาพ ปอดมีความจุปอดลดลง
ภาพถ่ายรังสีปอดผิดปกติพบจุดทึบเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป
การรักษา ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่รักษาตามอาการและลดอาการ แทรกซ้อน

การรักษา

1. ให้คนงานสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นโดยเฉพาะ
2. ควบคุมแหล่งที่ก่อให้เกิดฝุ่นไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจายออกสู่บริเวณที่คนทำงานอยู่ เช่นการติดตั้งระบบระบายอากาศเฉพาะที่  การใช้สเปรย์น้ำ
    การสร้างระบบปิดคลุม
3. แยกงานที่ทำให้เกิดฝุ่นออกจากงานอื่นๆ เพื่อป้องกันคนงานที่ไม่เกี่ยวข้อง ต้องหายใจเอาฝุ่นสารเข้าไป
4. การควบคุมที่ผ่านทาง ได้แก่ การลดฝุ่นบริเวณทั่วไปภายในโรงงาน ปรังปรุงถนน ฉีดพรมน้ำถนน
5. ให้ความรู้ การอบรมวิธีการทำงานที่ปลอดภัย การเฝ้าระวังด้านสุขภาพ การใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
6. ตรวจร่างกายประจำปี โดยการทดสอบสมรรถภาพของปอดและการเอกซเรย์ปอด


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น